วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

28/09/2555


อาจารย์แจกเอกสารประกอบการเรียน พร้อมแจกกระดาษเปล่าคนละหนึ่่งแผ่น และให้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การแจก Tablat สำหรับเด็ก ป.1 



โดยอาจารย์แนะนำวิธีการเขียนนำเสนอว่าที่เรียนมาทั้งหมด มีรูปแบบอะไรบ้างที่เราสามารถนำเสนอข้อมูลนี้ออกมาได้ ให้ยกตัวอย่าง เช่น

1. การเขียนเรียงความ
2. การทำ Mild Map
3. การทำ Matrix


วีดีเสนอแนะจาก โทรทัศน์ครู  Tablat  คืออะไร




โดยมีหัวข้อในการเขียน คือ 

1. ข้อดี
เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีความทันสมัยมากขึ้น
เด็กสามารถเห็นสื่อประกอบ ได้ทันที ทั้งภาพนิ่ง และ ภาพเคลื่อนไหว
เด็กกับครูสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้รวดเร็ว
สะดวกต่อการติดต่อ ค้นคว้า
เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้ 
เด็กมีความเท่าเทียม อยู่ที่ไหนก็สามารถเปิดแชร์ ข้อมูลได้

2. ข้อเสีย
จะทำเด็กกับครูมีความห่างกันไม่ได้ใกล้ชิด
เด็กไม่ได้ฝึกการเขียนด้วยมือ ไม่ได้พัฒนากล้ามเนื้อมือ
สิ้นเปลืองงบประมาณ
ครูรุ่นเก่า ต้องใช่เวลาในการอบรม ทำให้สิ้นเปลืองเวลา
เด็กอาจสนใจการเรียนน้อยลง

3. การนำไปใช้
นำมาใช้พัฒนาการสอน สื่อประกอบ
นำความทันสมัยมาสู่เด็ก
นำมาพัฒนาเนื้อหาที่จะสอน แทนการพูดบรรยาย เพิ่มความน่าสนใจให้กับเด็ก


วีดีโอแนะนำ วิธีการใช้ Tablat


หลังจากนั่น อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับว่าทำไมถึงต้องให้เขียนเรื่องนี้ เพราะ ความเป็นครู ความก้าวหน้าในสายอาชีพ เราต้องรู้อะไรที่มากและกว้างขวาง ไม่ใช่รู้หรือเก่งแค่เฉพาะเรื่อง เพราะถ้าต่อไป เราได้ทำงานแล้วต้องสอน ป.1 เราก็สามารถที่จะทำได้ สามารถที่จะร่วมงานกับผู้อื่นได้สบาย และจำเป็นที่เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น สามารถที่จะนำมาประยุกติ์ใช้กับทุกวิชาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่วิชาเทคโน  เราสามารถนำความรู้ ความสามารถที่เรามีมาใช้ปรับปรุง มาเผยแพร่ นำความรู้ที่มีมาโชว์ และอาจารย์ให้ตรวจดูงานว่าเหลืองานค้างหรือยังไม่ได้ส่งงานชิ้นไหนบ้าง
และนัดสอบปลายภาค วันที่ 9 ตุลาคม 2555






วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

21/09/2555

วันนี้อาจารย์ ตรวจข้อมูลใน Blogger ของแต่ละคน เป็นรายบุคคล และแนะนำว่าต้องไปเพิ่มเติมอะไรบ้าง มีอะไรบ้างที่ต้องนำไปลิ้งใน Blogger ของเรา ยกตัวอย่างของเพื่อนที่ทำออกมาได้ดี และให้เราไปปรับปรุงของเรา ให้เป็นปัจจุบัน และใสู่ลูกเล่นที่น่าสนใจ ที่เราสามารถทำได้


อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู เกี่ยวกับภาษา 
ดิฉันเลือกเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

ข้อมูลจาก   http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=519

โดย ดร.นฤมล เนียมหอม จากการเล่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก นิทานมีผลต่อเด็กมาก ครูสามารถออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา ให้สอดคล้องกับนิทานที่เด็กชอบ จะเป็นพัฒนาการที่ทำให้เด็กมีความสุขมาก โดยการเริ่มสังเกตว่าเด็กจะชอบเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็จะหยิบเอาเรื่องนั่นมาส่งเสริม เช่น เรื่องหนูน้อยหมวกแดง เป็นเรื่องที่คุณครูเลือกมา เพราะจากการสังเกตตั้งแต่เปิดเทอมเด็กๆจะหยิบเรื่องนี้มามาก จะชอบเล่าให้คุณครูฟังบ้าง เพื่อนบ้าง



 เวลาที่คุณครูจะออกแบบกิจกรรมต้องดูว่า 
1. บูรณาการไหม 
2.เด็กได้ลงมือกระทำหรือเปล่า ?

 ดูเด็กเป็นหลัก ว่าเค้าชอบอะไร  ความท้าทายคือเราให้เค้าเรียนรู้ในสิ่งที่เค้าชอบได้ไหม ถ้าเราสามารถทำได้ก็จะประสบความสำเร็จ คุณครุสามารถคิดประยุกติ์จากเรื่องราวในนิทาน โดยการบูรณาการ 
สอดแทรกกิจกรรมหลักในห้องเรียน เช่น 

  - กิจกรรมละครสร้างสรรค์ โดยการให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการแสดงนิทานที่ตนเองชอบ มีประโยชน์ คือ เด็กสามารถเรียนรู้องค์ประกอบของนิทานได้ เรียนรู้ตัวละคร บทบาท นิสัย ฉาก เรื่องราวว่าเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์ตามลำดับของเรื่อง ละครสร้างสรรค์จะเป็นการสร้างงานใหม่ขึ้นมา บทบาทของครู สนับสนุนให้กำลังใจ ให้เด็กมีส่วนร่วมมากมากที่สุด 



 - ประยุกติ์กิจกรรมเคลื่อนไหวด้วยเพลงและจังหวะเครื่องดนตรีจากนิทาน ให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีและร้องเพลงตามนิทาน จุดหมายคือให้เด็กมีความสุขกับเสียงดนตรี และเรื่องของการจำแนกเสียง ด้านร่างกายในแง่ของการคิด 





   - ประยุกติ์กิจกรรมสร้างสรรค์โดยการสร้างหน้ากากหมาป่า และปั้นแป้งโดวเป็นของฝากคุณยาย 1เรื่องสามารถจัดได้ 2-3 สัปดาห์ โดยการสังเกตดูว่าเด็กเบื่อหรือยัง? 

ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ กล่าวว่า การจัดการสอนแบบนี้จะเป็นแบบภาษาธรรมชาติ โด
ยการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เลือกจากสิ่งที่เด็กสนใจ เชื่อมโยงทางภาษาจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน 

 ดังนั่นการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยคุณครูแมว ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน



วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

14/09/2555

วันนี้เพื่อนกลุ่มที่เหลือ นำเสนอเพลง ที่สัปดาห์ที่แล้วนำเสนอไม่ทัน มีดังนี้


กลุ่ม อันอัน เพลง เด็กน้อยน่ารัก

เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย


กลุ่ม มด เพลง นกน้อย

นกตัวน้อยน้อย บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา


กลุ่ม พราว เพลง ตาหูจมูก

ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง (ซ้ำ) 



กลุ่ม อ๊อฟ เพลง กินผัก ผลไม้

กินผักแล้วมีประโยชน์ ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง



และต่อด้วยการเล่านิทาน เทคนิคต่างๆๆ  กลุ่มของดิฉัน ได้เทคนิค การเล่าไปวาดไป 
เรื่อง คุณปู่นักสำรวจ เป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาเอง อาจไม่สนุกเท่าไหร่

 รูปบรรยากาศ





  รูป ดวงดาวของคุณปู่




วีดีโอ เทคนิคการเล่าไปวาดไป

         


และกลุ่มของเพื่อนๆ กลุ่มที่เล่านิทาน ตามที่ได้จับฉลากไว้

กลุ่มที่เล่าด้วยเชือก

กลุ่ม แอม เรื่อง กระต่ายกับแครรอท 

       กลุ่ม ปักเป้า เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ
กลุ่ม ส้ม เรื่อง เต่าขี้บ่น 
กลุ่ม แป้ง เรื่อง ครอบครัวทั้ง 4



กลุ่มที่เล่าไปฉีกไป 


กลุ่ม เฟริ์น เรื่อง ดาวนน้อยลอยในทะเล 

กลุ่ม อ๊อฟ เรื่อง เรือโจรสลัด 
กลุ่ม แกน เรื่อง หัวใจล้านดวง


กลุ่มที่เล่าไปพับไป

กลุ่ม หนิง เรื่อง ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน
กลุ่ม หยก เรื่อง ชายขี้เบื่อ 
กลุ่ม ละออ เรื่อง ดินสอวิเศษ 


กลุ่มที่เล่าไปตัดไป 

กลุ่ม เอ๋ย เรื่อง พระจันทร์ ยิ้ม 
กลุ่ม พราว เรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย




กลุ่มที่เล่าไปวาดไป 


กลุ่ม กวาง เรื่อง เพื่อน 
กลุ่มอันอัน ดาวอะไรเอ่ย?
และกลุ่มของดิฉัน เรื่อง คุณปู่นักสำรวจ 



จากการเรียนวันนี้เราสามารถนำเทคนิคการเล่านิทาน และการแต่งเพลง ร้องเพลง ไปประยุกติ์ใช้กับเด็กๆได้จริง สามารถสอน สอดแทรกให้กับเด็กได้ 


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

07/09/2555

ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ เข้าอบรมเกี่ยวกับอาเซียน


โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน

ผอ. ราตรี ศรีไพรวรรณ  โรงเรียนพระยประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)  
 เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน


คำขวัญของอาเซียน คือ One Vision One ldentity One Community 
 หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

ตราสัญลักษณ์ของอาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกัน

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง


Assocaitiion of Southeast Asian คือ สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
8 สิงหาคม 2510 คือวันกำเนิดอาเซียนในประเทศไทย หรือวันปฏิญญากรุงเทพ
ภาษาราชการของกลุ่มอาเซียน จะใช้ ภาษาอังกฤษ

กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)



 8 กลุ่มอาชีพที่เข้าสู่อาเซียน
มีดังนี้
 เเพทย์ วิศวกร พยาบาล ทันตแพทย์ สถาปัตยกรรม สถาปนิก
ประกอบการท่องเที่ยว บัญชี


เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way”

เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน 
ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง)
 ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล



เนื้อร้อง ภาษาอังกฤษ
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.


สามารถฟังเพลง The ASEAN Way 




ภาพกิจกรรมต่างๆ






งานอาเซียนใต้ตึกคณะ