วันนี้อาจารย์ ตรวจข้อมูลใน Blogger ของแต่ละคน เป็นรายบุคคล และแนะนำว่าต้องไปเพิ่มเติมอะไรบ้าง มีอะไรบ้างที่ต้องนำไปลิ้งใน Blogger ของเรา ยกตัวอย่างของเพื่อนที่ทำออกมาได้ดี และให้เราไปปรับปรุงของเรา ให้เป็นปัจจุบัน และใสู่ลูกเล่นที่น่าสนใจ ที่เราสามารถทำได้
อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู เกี่ยวกับภาษา
ดิฉันเลือกเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
โดย ดร.นฤมล เนียมหอม จากการเล่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก นิทานมีผลต่อเด็กมาก ครูสามารถออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา ให้สอดคล้องกับนิทานที่เด็กชอบ จะเป็นพัฒนาการที่ทำให้เด็กมีความสุขมาก โดยการเริ่มสังเกตว่าเด็กจะชอบเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็จะหยิบเอาเรื่องนั่นมาส่งเสริม เช่น เรื่องหนูน้อยหมวกแดง เป็นเรื่องที่คุณครูเลือกมา เพราะจากการสังเกตตั้งแต่เปิดเทอมเด็กๆจะหยิบเรื่องนี้มามาก จะชอบเล่าให้คุณครูฟังบ้าง เพื่อนบ้าง
เวลาที่คุณครูจะออกแบบกิจกรรมต้องดูว่า
1. บูรณาการไหม
2.เด็กได้ลงมือกระทำหรือเปล่า ?
ดูเด็กเป็นหลัก ว่าเค้าชอบอะไร ความท้าทายคือเราให้เค้าเรียนรู้ในสิ่งที่เค้าชอบได้ไหม ถ้าเราสามารถทำได้ก็จะประสบความสำเร็จ คุณครุสามารถคิดประยุกติ์จากเรื่องราวในนิทาน โดยการบูรณาการ
สอดแทรกกิจกรรมหลักในห้องเรียน เช่น
- กิจกรรมละครสร้างสรรค์ โดยการให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการแสดงนิทานที่ตนเองชอบ มีประโยชน์ คือ เด็กสามารถเรียนรู้องค์ประกอบของนิทานได้ เรียนรู้ตัวละคร บทบาท นิสัย ฉาก เรื่องราวว่าเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์ตามลำดับของเรื่อง ละครสร้างสรรค์จะเป็นการสร้างงานใหม่ขึ้นมา บทบาทของครู สนับสนุนให้กำลังใจ ให้เด็กมีส่วนร่วมมากมากที่สุด
- ประยุกติ์กิจกรรมเคลื่อนไหวด้วยเพลงและจังหวะเครื่องดนตรีจากนิทาน ให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีและร้องเพลงตามนิทาน จุดหมายคือให้เด็กมีความสุขกับเสียงดนตรี และเรื่องของการจำแนกเสียง ด้านร่างกายในแง่ของการคิด
- ประยุกติ์กิจกรรมสร้างสรรค์โดยการสร้างหน้ากากหมาป่า และปั้นแป้งโดวเป็นของฝากคุณยาย 1เรื่องสามารถจัดได้ 2-3 สัปดาห์ โดยการสังเกตดูว่าเด็กเบื่อหรือยัง?
ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ กล่าวว่า การจัดการสอนแบบนี้จะเป็นแบบภาษาธรรมชาติ โด
ยการยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เลือกจากสิ่งที่เด็กสนใจ เชื่อมโยงทางภาษาจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
ดังนั่นการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยคุณครูแมว ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น